Popular Post

Popular Posts

       ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า "GPS" ซึ่ง GPS คือระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (ทำให้เรารู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของโลก :) ) ซึ่งในปัจจุบันเราอาจได้ยินคำใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา (เจอบ่อยๆก็ในสเปคมือถือปัจจุบัน) ที่จะบอกว่า GPS/GLONASS วันนี้เราจะมาดูกันว่า GLONASS คืออะไร และยังมีคำอื่นๆที่ควรทำความรู้จักไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Beidou Galileo และ QZSS


GPS (Global Positioning System)
       GPS คือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก(ดาวเทียมของอเมริกา) ทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ 
จำนวนดาวเทียม : 32 ดวง
วงโคจร : ระดับกลาง
ความสูง : 20,200 กิโลเมตรจากผิวโลก

ความแม่นยำ : 10 เมตร และอาจน้อยกว่า 10 เซนติเมตรเมื่อใช้ร่วมกับ RTK Techniques

GLONASS (GLObal NAvigation Satellite System)
       เป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกของ รัสเซีย สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับ GPS ของอเมริกา ใช้งานได้สมบูรณ์ทั่วโลกตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2012
จำนวนดาวเทียม : 24 ดวง
สถานะ : เริ่มใช้งานเมื่อปี 1980

Galileo
       เป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกของ ยุโรป ที่ร่วมกันพัฒนาโดยสหภาพยุโรป ร่วมกับจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และยูเครน 
จำนวนดาวเทียม : 18 ดวง (จะเพิ่มจำนวนจนครบที่ 24 ดวง ในปี 2020 โดยใช้งานจริง 18 ดวง และสำรอง 6 ดวง)
สถานะ : เริ่มต้นใช้งานเมื่อ 15 ธันวาคม 2016
ความแม่นยำ : 2-3 เซนติเมตร (แม่นยำกว่า GPS 10 เท่า!!!)

Beidou (เป๋ยโต่ว)
       เป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกของ จีน เป็นระบบที่กำลังพัฒนาโดยประเทศจีน โดยให้บริการเฉพาะบางพื้นที่ แต่ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโดยให้ครอบคลุมทั้วโลกโดยจะใช้ชื่อว่า COMPASS
จำนวนดาวเทียม : 22 ดวง (จะเพิ่มจำนวนจนครบที่ 30 ดวง ในปี 2020)
สถานะ : เปิดใช้งานแล้วในจีนและเอเชียแปซิฟิก
ความแม่นยำ : ต่ำกว่า 5 เมตร บางเมืองต่ำกว่า 7 เมตร

QZSS
       เป็นระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกของ ญี่ปุ่น ทำหน้าที่หลากหลาย ช่วยเสริมการหาตำแหน่งด้วย GPS โดยเน้นพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารสูงบดบังสัญญาณ GPS สำหรับ QZSS ถูกออกแบบให้มีวงโคจรเป็นเลข 8 โดยเต็มระบบจะประกอบด้วยดาวเทียม 3-4 ดวง เปิดให้บริการเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศแถบ Asia-Oceania

นอกจากนี้ก็ยังมี IRNSS ของอินเดีย และ DORIS ของฝรั่งเศส อีกด้วย


ชื่นชอบบทความ กดไลค์เพจ&แชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ^^
>> เพจนานาสาระ


See you :)

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © 2013 Nanasara ย่อโลกไว้ที่นี่ - Kurumi Tokisaki - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -