Popular Post

Popular Posts

นาซ่า พิสูจน์ชัดๆ การทดลองของกาลิเลโอ ปล่อยวัตถุ2ชิ้น ในห้องสูญญากาศ
วันนี้(8 พ.ย.) บีบีซี ได้เผยแพร่คลิปสารคดีเกี่ยวกับทฤษฎีการทดลองของกาลิเลโอ ที่ว่า“วัตถุที่มีน้ำหนักต่างกัน ถูกปล่อยพร้อมกันจากที่สูงระดับเดียวกัน จะตกถึงพื้นพร้อมกัน” ซึ่งในยุคนั้นผู้มีวิชาความรู้หลายคนไม่รองรับทฤษฎีนี้และไม่เห็นด้วย

เนื่องจาก ทฤษฎีดังกล่าวขัดแย้งกับหลักการของนักปราชญ์ อริสโตเติล ที่ว่า ทฤษฎีที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกถึงพื้นก่อนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา ในปี 1589  กาลิเลโอได้ทดลองด้วยการปล่อยวัตถุลงจากหอเอนปิซ่า แม้มันจะตกถึงพื้นพร้อมกันอย่างถูกต้อง แต่บางคนที่ยึดถือทฤษฎีของอริสโตเติลก็พยายามกลั่นแกล้งกาลิเลโอ หาว่าพยายามล้มล้างคำสอนของอริสโตเติลผู้เป็นอาจารย์ชั้นครู จนทำให้กาลิเลโอต้องลาออกจากตำแหน่งอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยปิซาในที่สุด
ซึ่งใครจะไปคิดว่า400ปีหลังจากนั้น การทดลองนี้ได้ถูกพิสูจน์ซ้ำอีกครั้ง โดยศูนย์นาซา ( NASA Space Power Facility ) ในรัฐโอไฮโอ ของ สหรัฐอเมริกา โดยการใช้ห้องสูญญากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นห้องทดลอง ปั๊มอากาศออกจากห้องใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง พร้อมทั้งปล่อยขนนกกับลูกบอลลงมาพร้อมกัน ปรากฎว่าของทั้งสองสิ่งถึงพื้นพร้อมกัน ด้วยอัตราเร่งที่เท่ากัน อย่างไม่น่าเชื่อ

        เมื่อผมดูคลิปแล้วก็เกิดความสงสัยครับว่า สุญญากาศเหมือนในอวกาศไหม แล้วถ้าเหมือน ทำไมวัตถุจึงตกพื้นไม่ลอยไปลอยมา จึงทำการค้นหาคำตอบและเจอคำตอบที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมดครับ ขอบคุณพันทิพแหล่งความรู้ดีๆอีกแล้ว อิอิ

     ความคิดเห็นที่ 1  

    ไม่มีแรงต้านจากอากาศไงครับ 

    จากคุณ : ksk   - [ 27 ม.ค. 51 19:03:38 ]
     ความคิดเห็นที่ 2  

    ใช่ครับ มันไม่มี drag force 

    จากคุณ : ไม่มีสมาชิกชื่อนี้   - [ 27 ม.ค. 51 19:05:15 ]
     ความคิดเห็นที่ 3  

    ทำไมวัตถุไม่ลอยไป-มา ครับ ทำไมจึงตกลงพื้น

    ก็เพราะแรงโน้มถ่วง (gravity) ครับ

    และที่ตกพร้อมกันก็เพราะ ไร้แรงต้านอากาศ 


    จากคุณ : กรุณาเก็บให้พ้นมือเด็ก   - [ 27 ม.ค. 51 19:07:09 ]
     ความคิดเห็นที่ 4  

    ถ้าเอาวัตถุไปปล่อยในอวกาศ
    - ลอยไปลอยมาแน่นอนครับ เพราะว่าไม่มีแรงดึงดูด

    ถ้าเอาวัตถุไปปล่อยบนดวงจันทร์
    - ไม่ลอยไปลอยมาแน่นอนครับ เพราะว่ามีแรงดึงดูดของดวงจันทร์ดึงดูดวัตถุนั้นให้ตกลงสู่พื้น (ของดวงจันทร์)
    คล้ายๆ กับของร่วงจากโต๊ะโดยมีแรงดึงดูดของโลกดึงดูดของนั้นให้ร่วงหล่นลงมา แต่ว่าวัตถุจะตกลงพร้อมกัน
    เพราะว่าบนดวงจันทร์ไม่มีแรงต้านของอากาศขณะที่วัตถุนั้นร่วงลงมา

    ถ้าเอาไปปล่อยในสภาวะที่เป็นสุญญากาศ
    - ปล่อยบนโลก วัตถุจะลอยไปลอยมาได้ไงล่ะครับ เพราะว่ามันมีแรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุนั้น
    อยู่ แรงดึงดูดนี้จะดูดวัตถุนั้นให้ร่วงลงมาอยู่ดี
    - ปล่อยบนดวงจันทร์ ก็จะลงมาพร้อมกันเพราะว่าเป็นสภาวะสุญญากาศ
    - ปล่อยในอวกาศ ก็จะลอยไปลอยมาเพราะว่าไม่มีแรงดึงดูดใดๆ มากระทำต่อวัตถุนั้น 


    จากคุณ : axquest  - [ 27 ม.ค. 51 19:08:54 ]
     ความคิดเห็นที่ 5  

    ทุก คห. ข้างบนชัดเจนแล้ว 

    จากคุณ : บ่าวจ่อย  - [ 27 ม.ค. 51 19:12:16 ]
     ความคิดเห็นที่ 6  

    ขอบคุณครับ ชัดเจนทุกความเห็น
    ลืมเรื่องgravityในตัวไปสนิท ไม่งั้นดวงจันทร์คงจะลอยไป 


    จากคุณ : Patriots  - [ 27 ม.ค. 51 19:20:07 ]
     ความคิดเห็นที่ 8  

    ถ้าจะบอกว่า สภาวะสุญญากาศ ผมว่ามันไม่ค่อยจะถูกต้องนะครับ 
    น่าจะเป็นคำว่า สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง มากกว่าครับ

    แต่ ก็เข้าใจตรงกัน อยู่ :)

    ด้วยภูิมิปัญหาเท่าหางอึ่งของผม สภาวะสุญญากาศ น่าจะหมายถึง สภาวะ ที่ไม่มีอากาศอยู่ หรือ แรงดันอากาศเป็น 0 นะครับ เช่น ระบบ vaccum ของปั๊ม หรือ เครื่อง evaporator

    ผม ผิดถูกประการใด ก็ บอกนะครับ ผมเองก็กลัวตัวเองเข้าใจผิดเหมือนกัน 


    จากคุณ : มู้ดดี้ แม้ดอาย   - [ 27 ม.ค. 51 19:51:49 ]
     ความคิดเห็นที่ 9  

    แรงโน้มถ่วงมีครับ รุสึกจะ1ใน3ของโลก แต่ไม่มีอากาศ 

    จากคุณ : Sir.ขงเบ้ง   - [ 27 ม.ค. 51 20:14:51 ]
     ความคิดเห็นที่ 10  

    ตอบ 8 คุณ Moody เข้าใจผิดจริงๆแหละครับ

    เรื่องนี้เป็นเรื่องของแรงต้านอากาศ

    การทดลอง ต้องทดลองในที่ไม่มีอากาศ คือไร้อากาศ แต่ ว่ามีสนามโน้มถ่วง เป็นแรงดึงให้วัตถุตกลงพื้นครับ

    การทดลองนี้ มีการจำลองบนโลกเหมือนกัน โดยทำในกระบอกสูญญากาศ (มีสนามโน้มถ่วงของโลกอยู่) วัตถุทุกชนิดจะตกลงสู่โลกด้วยความเร่ง G (ไม่มีแรงต้านจากอากาศ) 


    จากคุณ : -=Jfk=-   - [ 27 ม.ค. 51 20:32:11 ]
     ความคิดเห็นที่ 11  

    ตอบ 9 ถ้าหมายถึงดวงจันทร์ แรงโน้มถ่วง 1/6 ของโลก ครับ แต่ไร้อากาศ ถูกต้องแล้ว คร้าบบบบบบบบบบบบ haha 

    จากคุณ : -=Jfk=-   - [ 27 ม.ค. 51 20:33:01 ]
     ความคิดเห็นที่ 12  

    man ... เข้ามาดู 

    จากคุณ : สมภพ เจ้าเก่า   - [ 27 ม.ค. 51 20:41:53 ]
     ความคิดเห็นที่ 13  

    (Sigma)F=ma
    mg=ma
    g=a=constant

    note: g=gravitational acceleration 


    จากคุณ : ไอ้หนุ่มโรงงาน  - [ 27 ม.ค. 51 20:43:57 ]
     ความคิดเห็นที่ 14  

    โอวว ครับ ขอบคุณครับ พี่หมอ เด๊ยวเอาข้อมูล ไป reinstall เข้า สมองใหม่ ครับ 

    จากคุณ : มู้ดดี้ แม้ดอาย   - [ 27 ม.ค. 51 20:58:11 ]
     ความคิดเห็นที่ 15  

    แล้วถ้ามีแรงต้านอากาศเท่ากันพอดีละ    ทรงกลมเท่ากันพอดี  แต่น้ำหนักไม่เท่ากัน 

    จากคุณ : natong  - [ 27 ม.ค. 51 23:19:25 ]
     ความคิดเห็นที่ 16  

    ^
    ^
    ^
    ก็ตกถึงพื้นพร้อมกัน 


    จากคุณ : Omkoy  - [ 27 ม.ค. 51 23:30:40 ]
     ความคิดเห็นที่ 17  

    สุญญากาศ กับ แรงโน้มถ่วง เป็นคนละเรื่องกันครับ 

    จากคุณ : เชื่อผมเหอะ แล้วดีเอง   - [ 28 ม.ค. 51 00:26:40 ]
     ความคิดเห็นที่ 18  

    ลืมกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันกันไปได้


    ถ้าคุณแน่ อย่าแพ้มอสี่ 


    จากคุณ : นายเดชา   - [ 28 ม.ค. 51 00:50:05 ]
     ความคิดเห็นที่ 19  

    แล้วความเร็ว ไม่ขึ้นกับมวลหรือครับ?



    ความคิดเห็นที่ 15   

    "แล้วถ้ามีแรงต้านอากาศเท่ากันพอดีละ    ทรงกลมเท่ากันพอดี  แต่น้ำหนักไม่เท่ากัน "



    งั้นถ้า ลูกบอล ปริมาตร และ รูปทรางเท่ากันกับ ลูกเหล็ก


    ปล่อยจากเครื่องบินหร้อมกัน


    มันคงไม่ตกมาพร้อมกันแน่ๆ 


    จากคุณ : อยู่คนเดียวเปล่าเปลี่ยวใจ  - [ 29 ม.ค. 51 12:21:24 ]
     ความคิดเห็นที่ 20  

    สูญญากาศอ่ะคับ ไม่ใช่อวกาศ 

    อย่าสับสน อย่าสับสน 

    พอดีในอวกาศมันไม่มีอากาศ เค้าเลยชอบเรียกว่าสูญญากาศอ่ะคับ จริงๆสูญญากาศ แปลว่า ไม่มีอากาศ 


    จากคุณ : ก (คนเดินบนดิน)  - [ 5 ก.พ. 51 01:27:22 ]

Cr. MThai and Pantip


{ 2 ความคิดเห็น... read them below or Comment }

- Copyright © 2013 Nanasara ย่อโลกไว้ที่นี่ - Kurumi Tokisaki - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -